พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
ล.ป.สาม อกิญจโน...
ล.ป.สาม อกิญจโนเหรียญจิตหนึ่ง รุ่นทูลเกล้าเนื้อทองแดงกลั่ยเงินลงยาสีแดง
ชีวประวัติ
หลวงปู่สาม อกิญจโน
วัดป่าไตรวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
นามเดิม สาม เกษแก้วสี
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับ วันอาทิตย์ เดือนสิบ ปีชวด ที่บ้านนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
บิดาคือ นายปวม เกษแก้วสี
มารดาคือ นางกึง เกษแก้วสี
ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๑ คนเรื่องราวชีวิตในวัยเด็กของท่านนั้น ท่านเล่าว่า เมื่ออยู่ในวัยเด็กนั้น ได้รับความทุกข์ยากลำบากมาก เนื่องจาก พี่ชายคนโตได้ถึงแก่กรรม และในบ้านไม่มีผู้หญิง มีแต่ผู้ชาย และท่านเปรียบเสมือนเป็นลูกชายคนโต ดังนั้น นอกจากท่านจะต้องทำงานนอกบ้าน เช่นเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และทำไร่ไถนาแล้ว ยังต้องทำงานในบ้านอีกด้วย เช่น ตำข้าว หุงต้มอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ อีกหลายคน คือทำงานเหมือนผู้หญิงทุกอย่าง จนอายุย่างเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว ก็ยากที่จะมีโอกาสได้เที่ยวเตร่เหมือนผู้อื่นเขา ประกอบกับท่านมีอัธยาศัยชอบสงบตั้งแต่เด็ก ไม่เคยเกะกะระรานหาเรื่องกับใครเลย รู้จักการทำบุญ บริจาคทาน ฟังเทศน์ฟังธรรมตั้งแต่อายุได้ ๑๔ ปี จึงเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของบิดามารดา และผู้แก่ผู้เฒ่าเป็นอย่างยิ่ง
พ.ศ. ๒๔๖๒
ครั้นเมื่อถึงพ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านมีอายุได้ ๑๙ ปี จิตใจของท่านโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ มีความรู้สึกอยากบวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ จึงได้ขออนุญาตพ่อและแม่ พ่อแม่ของท่านอนุญาตไม่ทัดทานประการใด ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนาสาม ซึ่งเป็นวัดในสังกัดมหานิกาย อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน
พ.ศ. ๒๔๖๔
เมื่อบวชเณรได้ ๒ ปี อายุครบ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเอี่ยม เป็นพระกรรมวาจา และพระอาจารย์สามเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เข้าใจว่าท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดจุมพลสุทธาวาส และกลับมาพำนักที่วัดนาสาม น่าสังเกตว่า ท่านได้บวชกับพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกันกับพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งต่อมาเป็นพระอาจารย์องค์แรกของหลวงปู่สาม
พ.ศ. ๒๔๖๖
ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนาสามได้ ๓ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ก็คิดอยากจะไปเรียนปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ กับเขาบ้าง จึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ
ในช่วงที่ท่านเดินทางออกจากวัดนาสามเดินทางเข้ากรุงเทพนั้น ก็เป็นเวลาเดียวกับที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระภิกษุชาวสุรินทร์ ผู้ซึ่งได้จาริกไปยังวัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ขณะที่มีอายุพรรษาได้ ๖ ปี เพื่อศึกษาด้านพระปริยัติ จนสอบได้เป็นนักธรรมชั้นตรี นวกภูมินับเป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี ขณะเดียวกัน ก็ได้เรียนบาลีไวยากรณ์ที่เรียกว่า "มูลกัจจายน์" จนสามารถแปลพระธรรมบทได้
จากนั้น เมื่อได้รู้จักกับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และได้กราบนมัสการฝากตัวเป็นศิษย์กัมมัฏฐานของ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ดูลย์ก็แปรเปลี่ยนจากการศึกษาด้านพระปริยัติ หันเข้ามาทางด้านการปฏิบัติ จากนั้นมา หลวงปู่ดูลย์จึงได้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร รวมเป็นเวลา ๗ ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๖ หลวงปู่จึงได้กลับไปยังจังหวัดสุรินทร์ บ้านเกิดของท่าน เพื่อสงเคราะห์ญาติเมื่อหลวงปู่ดูลย์กลับมาถึงสุรินทร์ ท่านได้พักอยู่ที่วัดนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่สามพักอยู่ แต่เป็นจังหวะเดียวกันกับที่หลวงปู่สามได้เดินทางเข้ากรุงเทพ จึงพลาดโอกาสที่จะได้พบกัน
การกลับมาสุรินทร์ของหลวงปู่ดูลย์ในครั้งนั้น ได้สร้างความตื่นเต้นให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวบ้านแถบตำบลนาบัว และตำบลเฉนียง (ซึ่งเป็นตำบลบ้านเกิดของหลวงปู่ดูลย์) ได้พากันแตกตื่นพระธุดงค์เป็นการใหญ่ พากันไปฟังพระธรรมเทศนา และบำเพ็ญสมาธิภาวนากับหลวงปู่ดูลย์อย่างล้นหลาม จนกระทั่งวัดนาสามไม่มีที่จะนั่ง
พ.ศ. ๒๔๖๗
เมื่อจวนจะถึงวันเข้าพรรษา ท่านเห็นว่าวัดนาสามตั้งอยู่ในละแวกชุมชนมากเกินไป ไม่เหมาะที่จะวิเวกและปรารภธรรมตามแบบอย่างของพระธุดงค์ จึงได้ไปพำนักที่ป่าบ้านหนองเสม็ด ตำบลเฉนียง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดนาสามไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร และได้สมมติสถานที่นั้นขึ้นเป็นสำนักป่า อธิษฐานจำพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ ที่นั้นในการเดินทางเข้ากรุงเทพนั้น เจตนาเดิมหลวงปู่สามท่านตั้งใจจะขอพำนักอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ แต่ก็มีอุปสรรคโดยทางวัดบอกขัดข้องว่า ไม่มีกุฏิอยู่ให้จำพรรษา เมื่อเป็นดังนั้น ครั้นจะกลับมาวัดเดิมก็นึกอายเขา จึงหาวัดจำพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่จังหวัดอยุธยา ๑ พรรษา โดยไม่มีการเรียนปริยัติธรรมแต่ประการใด เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงกลับมาอยู่ที่วัดนาสามตามเดิม
ทางด้านหลวงปู่ดูลย์นั้น เมื่อจวนจะเข้าพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้ดำริที่จะเรียนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จึงเดินทางออกจากสำนักปฏิบัติธรรมป่าหนองเสม็ดไปยังกรุงเทพฯ และได้เข้าพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดสัมพันธวงศาวาส (วัดเกาะ) เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติมตามที่ประสงค์ แต่ศึกษาอยู่ได้ไม่นานนักท่านก็เลิก เพราะจิตใจของท่านเอนเอียงไปทางด้านธุดงค์กัมมัฏฐานมากกว่าเสียแล้ว จึงเพียงแต่อยู่ปฏิบัติธรรมและโปรดญาติโยมที่วัดสัมพันธวงศาวาสเท่านั้นและเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับ เมื่อเดินทางถึง จังหวัดลพบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับอาจารย์อ่ำ (พระเทพวรคุณ เจ้าอาวาสวัดมณีชลขันธ์ น้องชายท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จันทร์ สิริจันโท) เป็นเวลาประมาณ ๓ เดือนวันหนึ่ง พระมหาพลอย อุปสโม พระวัดสัมพันธวงศาวาส กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชาวสุรินทร์เช่นกัน ได้ติดตามมาหาท่านจนพบ และได้กราบอาราธนาให้ท่านกลับไป จังหวัดสุรินทร์ โดยให้เหตุผลว่า บรรดาญาติโยมอุบาสกอุบาสิกาทาง จังหวัดสุรินทร์ ผู้สนใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม และพอจะเห็นผลของการปฏิบัติบ้าง ต่างก็มีความปรารถนาที่จะพบและร่วมปฏิบัติธรรมกับท่าน เมื่อทราบความมุ่งหมายเช่นนั้น ท่านจึงเดินทางกลับ จังหวัดสุรินทร์ ตามคำอาราธนาของพระมหาพลอย และเข้าพำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์ป่าหนองเสม็ดตามเดิม ยังความปลาบปลื้มแก่บรรดาญาติโยมชาว จังหวัดสุรินทร์เป็นยิ่งนัก
พ.ศ. ๒๔๖๘
ขณะที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เดินทางกลับมายังจังหวัดสุรินทร์นั้น เป็นเวลาหลังจากที่หลวงปู่สามเดินทางกลับจากจำพรรษาที่วัดในจังหวัดอยุธยามายังวัดนาสามได้เพียง ๓ เดือน หลวงปู่สามเมื่อทราบว่าหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กลับมาจากเดินธุดงค์และได้มาพำนักอยู่ที่ป่าหนองเสม็ด ตำบลเฉนียง จังหวัดสุรินทร์ จึงเดินทางไปนมัสการและได้มอบตัวเป็นศิษย์เพื่ออบรมพระกรรมฐาน
ท่านอาจารย์ดูลย์สอบถามได้ความว่า หลวงปู่สามได้มีความมุ่งมั่นในการศึกษาทางพระศาสนา และเคยเดินทางไปแสวงหาที่เรียนด้านปริยัติที่กรุงเทพฯ แต่หาที่พำนักไม่ได้ จึงต้องกลับมาจำพรรษาที่สุรินทร์คืน ก็มีความยินดี และแนะนำสั่งสอนเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เมื่อหลวงปู่สามตั้งใจปฏิบัติตามที่ท่านอาจารย์ดูลย์แนะนำสั่งสอนก็ประสบผลสงบจนถึงเกิดนิมิตต่าง ๆ แล้วก็ยิ่งเกิดความเชื่อ ความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริง จึงอยู่จำพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ ที่ป่าหนองเสม็ดนั้น ๑ พรรษา ส่วนท่านอาจารย์ดูลย์ มาจำพรรษาที่วัดนาสาม
เมื่อออกพรรษา ปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว ท่านก็ได้เริ่มออกเที่ยวธุดงค์ในบริเวณใกล้ ๆ ในจังหวัดสุรินทร์ โดยไปทางเขา(พนม)สวาย พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานพอสมควร มีญาติโยมเลื่อมใสศรัทธามานั่งสมาธิภาวนา บางคนก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ท่านออกจากที่นั่นแล้ว ก็ไปตั้งสำนักปฏิบัติอยู่ใกล้บ้านถนน ตำบลเฉนียง อยู่ประมาณ ๒ เดือน
พ.ศ. ๒๔๖๙
ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงปู่ดูลย์ เห็นความพากเพียรของพระสาม อกิญฺจโนที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติ และได้บำเพ็ญเพียรจนได้รับผลจากการปฏิบัติพอสมควร และมีศรัทธามั่นคงดีแล้ว จึงแนะนำให้เดินทางไปกราบและศึกษาธรรมกับ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งขณะนั้นท่านและคณะศิษย์ได้ธุดงค์อยู่จังหวัดนครพนม โดยองค์ท่านได้พำนักอยู่ที่ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ใกล้กับวัดโพธิ์ชัย ตามคำอาราธนานิมนต์ของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ส่วนศิษย์อาวุโสองค์อื่นๆ แยกพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง เช่น หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องร่วมสายโลหิต และพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรงฺสี จำพรรษาที่ป่าบ้านอากาศ ตำบลอากาศ อ. วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย) จังหวัด สกลนคร
ในการเดินทางไปหาท่านพระอาจารย์มั่นของพระสาม ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๒๖ ปีนั้น มีท่านสกุย (บางแหล่งข้อมูล ว่าเป็น พระอาจารย์บุญธรรม) เป็นเพื่อนไปด้วย รวม ๒ องค์ เดินทางครั้งนี้ใช้เวลาถึง ๑๕ วัน จึงถึงจังหวัดนครพนม และพักอยู่ที่นั่น ๓ เดือน แล้วเดินทางต่อไปอีก ๕ วัน ก็ถึง เสนาสนะป่าบ้านสามผง ที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ นมัสการให้ท่านทราบว่า มาจากจังหวัดสุรินทร์ เพื่อปฏิบัติกัมมัฏฐาน แล้วพักอยู่ เพื่อรับการอบรมและฟังเทศน์จากท่านอาจารย์มั่น จนออกพรรษา และที่เสนาสนะป่าบ้านสามผงนี้เองที่ท่านได้พบและรู้จักกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งขณะนั้นอายุ ๒๓ ปี และ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ขณะนั้นอายุ ๒๕ ปี เป็นครั้งแรก
แผนที่แสดงเส้นทางการเดินทางจากวัดนาสาม จ.สุรินทร์ไปพบพระอาจารย์มั่นที่บ้านสามผง พบหลวงปู่สิงห์ที่บ้านอากาศ และ ติดตามคณะพระอาจารย์มั่นไปที่บ้านดอนแดงคอกช้าง
หลังจากนั้นท่านอาจารย์มั่นพิจารณาเห็นว่า ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นผู้คุ้นเคยกับพระที่มาจากจังหวัดสุรินทร์ เพราะท่านอาจารย์ดูลย์ก็สนิทสนมกันกับท่านอาจารย์สิงห์ จึงแนะนำท่านอาจารย์สามให้ไปหาท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านอาจารย์สามก็ได้ชักชวนเพื่อนสหธรรมิก คือ พระอาจารย์บุญธรรม เดินทางไปพบท่านอาจารย์สิงห์ ระยะทางจากบ้านสามผง ไปยังบ้านอากาศประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ท่านใช้เวลาเดินทาง ๑ วัน ๑ คืน จึงไปถึงอำเภออากาศอำนวย ท่านอาจารย์สิงห์ทราบว่ามาจากสำนักอาจารย์ดูลย์ จังหวัดสุรินทร์จึงต้อนรับและจัดให้พักอยู่ในที่นั้น
ครั้นพอจวนจะเข้าพรรษา ท่านอาจารย์สิงห์ก็จัดให้หลวงปู่สามไปอยู่แห่งหนึ่งต่างหาก ไม่ห่างจากกันเท่าไรนัก ท่านอาจารย์สามเล่าว่า ในปีนั้นท่านป่วยเป็นไข้ป่าหนัก จวนเจียนจะถึงตาย ร่างกายผอมเหลือหนังกับกระดูก แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้าในธรรมะของพระศาสดาเจ้า พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น เมื่อค่อยหายจากป่วยแล้วก็ต้องหัดเดินเป็นเดือน และต้องใช้ไม้เท้าช่วยยันตัวเดินจึงพอเดินไปมาได้บ้างในพรรษานั้น ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า “เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท้าเดินก็ต้องยอมตายกับความดีงามนะพวกเธอ”
ระหว่างที่การจำพรรษาอยู่ที่บ้านอากาศ ก็เกิดโรคฝีดาษระบาดขึ้นในหมู่บ้าน ชาวบ้านแตกตื่นหนีไปอยู่ตามป่าตามทุ่งนาเกือบหมด แม้พระตามวัดในหมู่บ้านก็ตามโยมไปด้วย แทบไม่มีใครใส่บาตรให้พระที่เหลืออยู่ฉัน ยังดีอยู่ที่หลวงปู่สิงห์ท่านรู้จักยาสมุนไพรอยู่บ้าง ท่านจึงบอกห้ามชาวบ้านไม่ให้นำผู้ป่วยไปไว้ในป่าแล้วปลูกกระต๊อบให้อยู่เพียงคนเดียว แล้วส่งอาหารให้กิน ตามที่เคยปฏิบัติมาเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น แล้วท่านหายามารักษากัน จึงมีคนตายเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ส่วนคณะพระกัมมัฏฐานนั้น ยังดีที่ชาวบ้านยังมีความนับถืออยู่ ถึงแม้ไม่มีคนนอนเฝ้าบ้านเลยสักคนเดียว แต่พอตอนตี ๔ ตี ๕ ยังอุตส่าห์มาหุงข้าวไว้สำหรับตักบาตร พอคณะหลวงปู่สิงห์ออกมาบิณฑบาต เขาก็ออกมาใส่บาตรแล้วก็รีบกลับเข้าป่าไป
หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว หลวงปู่สิงห์ได้พาคณะไปกราบนมัสการท่านอาจารย์มั่นที่บ้านสามผง ซึ่งท่านได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น แล้วพระอาจารย์มั่นก็ได้พาคณะเดินทางมาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป และ ได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล และได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้น ท่านพระอาจารย์ใหญ่ท่านปรารภว่าจะนำ แม่ชีจันทร์ มารดาท่านไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้ว เกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะปฏิบัติได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่น ต่างก็รับเป็นธุระในการเอาโยมแม่ท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ออกของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลัง ต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้
การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง เพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้น การเดินทางเป็นการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓ รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไป ก็จะพักที่เดิมที่คณะที่ ๑ พัก คณะที่ ๓-๔ เมื่อตามคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วย การสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม
ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถ ก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมาย
การเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน

แผนที่แสดงเส้นทางการเดินทางจากบ้านดอนแดงคอกช้างไปจังหวัดอุบลราชธานี
คณะธุดงค์ท่านอาจารย์มั่นฯ เมื่อได้เดินทางถึงหมู่บ้านหนองขอน อยู่ในเขตอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านหลวงปู่สิงห์ ซึ่งเมื่อชาวบ้านได้ฟังธรรมเทศนาของท่านแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษา เมื่อท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รับอาราธนา ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดเสนาสนะถวายจนพอเพียงแก่พระภิกษุที่ติดตามมากับท่าน
พ.ศ. ๒๔๗๐
ดังนั้นในพ.ศ. ๒๔๗๐ ในพรรษานี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา ส่วนหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่นจำพรรษาที่บ้านหัวตะพาน บริเวณใกล้เคียงกัน พระอาจารย์สามและพระอาจารย์สกุยซึ่งร่วมมาในคณะหลวงปู่สิงห์ก็จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่สิงห์
ต่อไปก็จะขอกล่าวเรื่องปัญหาที่พระกรรมฐานในสมัยนั้นได้ประสบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดทั้งความยุ่งยากต่อหมู่คณะพระกรรมฐาน และทั้งผลดีในแง่ที่ก่อให้เกิดการแพร่ขยายทั้งการสร้างวัดป่าขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ที่พระกรรมฐานได้ธุดงค์ไปพัก และทั้งทางด้านการปฏิบัติธรรมของประชาชนตามทางที่พระกรรมฐานได้ธุดงค์ไปโปรด
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) นั้น แม้ท่านจะเป็นพระผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล จัดการศึกษาแก่พระและแก่ประชาชนอย่างได้ผลดียิ่ง จัดการปกครองคณะสงฆ์ได้อย่างเรียบร้อยดีงาม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเต็มบ้านเต็มเมืองทีเดียว แต่ในระยะต้นนั้นท่านไม่ชอบพระธุดงค์เอาเลย ท่านว่าเป็นพระขี้เกียจ ไม่ศึกษาเล่าเรียน ถึงกับมีเรื่องต้องขับไล่ไสส่งมาแล้วหลายครั้งหลายหน ท่านไม่เห็นด้วยกับการเป็นพระธุดงค์กรรมฐาน ไม่เห็นด้วยกับการศึกษาธรรมด้วยการนั่งสมาธิภาวนา ท่านจึงขัดขวางหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น แทบทุกวิถีทางก็ว่าได้
จากการที่สมเด็จฯ ไม่เห็นด้วยในการออกธุดงค์ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็น “พระธุดงค์เร่ร่อน” นี้ สมเด็จฯ ท่านจึงพยายาม “จัดระเบียบพระ” ให้อยู่เป็นหลักแหล่ง มีสังกัดที่แน่นอน ปัญหานี้จึงเป็นเหตุให้บูรพาจารย์บางองค์ท่านหลบหลีกความรำคาญ ข้ามโขงไปอยู่ทางฝั่งลาวก็มี หรือธุดงค์เข้าป่าทึบ ดงดิบไปเลยก็มี
ระหว่างนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสเถระ อ้วน) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะธรรมยุติในภาคอีสาน ทราบข่าวว่าคณะพระกัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่น เดินทางมาพักอยู่ที่บ้านหัวตะพาน จึงสั่งให้เจ้าคณะแขวง อำเภอม่วงสามสิบ กับเจ้าคณะแขวงอำเภออำนาจเจริญ พร้อมด้วยนายอำเภออำนาจเจริญ ไปทำการขับไล่พระภิกษุคณะนี้ออกไปให้หมด ทั้งยังได้ประกาศด้วยว่า ถ้าผู้ใดใส่บาตรพระกัมมัฏฐานเหล่านี้จะจับใส่คุกให้หมดสิ้น แต่ชาวบ้านก็ไม่กลัว ยังคงใส่บาตรกันอยู่เป็นปกติ นายอำเภอทราบเรื่องจึงไปพบพระภิกษุคณะนี้อีกครั้งหนึ่ง แล้วแจ้งมาว่า ในนามของจังหวัด ทางจังหวัดสั่งให้มาขับไล่ พระอาจารย์สิงห์ซึ่งเป็นคนจังหวัดอุบลฯ ได้ตอบโต้ไปว่า ท่านเกิดที่นี่ท่านก็ควรจะอยู่ที่นี่ได้ นายอำเภอไม่ยอม พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ช่วยพูดขอร้องให้มีการผ่อนสั้นผ่อนยาวกันบ้าง แต่นายอำเภอก็ไม่ยอมท่าเดียว จากนั้นก็จดชื่อพระกัมมัฏฐานไว้ทุกองค์ รวมทั้งพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์เกิ่ง พระอาจารย์สีลา ฯลฯ จนหมด แม้กระทั่งนามโยมบิดามารดา สถานที่เกิด วัดที่บวช ทั้งหมดมีพระภิกษุสามเณรกว่า ๕๐ รูป และพวกลูกศิษย์ผ้าขาวอีกมากร่วมร้อยคน นายอำเภอต้องใช้เวลาจดตั้งแต่กลางวันจนถึงสองยามจึงเสร็จ ตั้งหน้าตั้งตาจดจนกระทั่งไม่ได้กินข้าวเที่ยง เสร็จแล้วก็กลับไป
เมื่อเกิดเรื่องดังกล่าว ท่านอาจารย์สิงห์และมหาปิ่นจึงแนะนำให้ท่านอาจารย์สามกลับสำนักเดิมที่สุรินทร์เสียก่อน ท่านจึงต้องกลับมาเข้าพรรษาหลังเดือน ๙ ที่บ้านถนน ตำบลเฉลียง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ไปหาท่านอาจารย์สิงห์ที่จังหวัดอุบลฯ อีก
พระอาจารย์มั่นฯ ปรารภเรื่องปลีกตัวออกจากหมู่เพื่อวิเวก
ครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้นำโยมแม่ออกท่านไปมอบให้น้องสาวท่านในเมืองอุบล ฯ
ท่านและคณะศิษย์บางส่วนพักที่วัดบูรพาราม ส่วนท่านพระอาจารย์สิงห์กับคณะสานุศิษย์ที่เหลืออีกประมาณ ๔๐ กว่าองค์ รวมทั้งท่านพระอาจารย์สามไปพักอยู่ที่สำนักสงฆ์ท่าวังหิน ซึ่งอยู่ห่างออกไป ทางทิศตะวันตก ๔ กิโลเมตรเศษ
ส่วนบรรดาศิษย์เก่า ๆ ทั้งหลาย ที่ออกธุดงค์อยู่ ณ ที่ต่างๆ เมื่อได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้ติดตามมากราบนมัสการ
และในเดือนอ้าย ข้างแรม ปีนั้น ก็ได้มีพระภิกษุหนุ่มจากอำเภอม่วงสามสิบเดินทางมากราบนมัสการขอเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านก็ยินดีรับและได้แนะนำและสอนคำภาวนาให้ว่า พุทโธฯ เพียงคำเดียวเท่านี้ พอดีท่านกำลังอาพาธ ท่านจึงได้แนะนำให้ไปพักอยู่สำนักสงฆ์ท่าวังหิน ซึ่งพระอาจารย์สิงห์พักอยู่ นั่นเป็นโอกาสให้พระอาจารย์สามได้พบผู้ที่ต่อมาได้เป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกับท่านเป็นอย่างยิ่ง ก็คือท่านพระอาจารย์ลี ธัมมธโร
ต่อมาในวันมาฆบูชา เดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมด ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมา
ในค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เข้าที่ทำสมาธิภาวนาก็ได้ปรารภขึ้นในใจว่า“จะออกจากหมู่คณะไปแสวงหาสถานที่วิเวก เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ ให้ได้รับความเข้าใจชัดเจน และแจ่มแจ้งเข้าไปอีก แล้วจะได้เอาปฏิปทาอันถูกต้องนั้นฝากไว้แก่เหล่าสานุศิษย์ในอนาคตต่อไป เพราะพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น ย่อมมีนัยอันสุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ได้ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทพระพุทธองค์และตามปฏิปทาที่พระอริยเจ้าได้ดำเนินมาก่อนแล้วนั้น เมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ย่อมจะเขวไปจากปฏิปทาที่ถูกต้องก็เป็นได้ หรืออาจดำเนินไปโดยผิดๆ ถูก ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลายก็จะเข้าไม่ถึงศีลถึงธรรม หรืออาจถึงกับป่วยการไม่เป็นประโยชน์แก่ตนของตน การปฏิบัติพระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนาก็จะมีแต่ความพอกพูนกิเลสให้เจริญงอกงามขึ้นในตนของตนเท่านั้น ซึ่งไม่สมกับว่าพระธรรมวินัยเป็นของชำระกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นไปจากสันดานแห่งเวไนยสัตว์ทั้งหลายอนึ่ง การอยู่กับหมู่คณะจะต้องมีภาระการปกครอง ตลอดถึงการแนะนำพร่ำสอนฝึกฝนทรมานต่าง ๆ ซึ่งทำให้โอกาสและเวลาที่จะค้นคว้าในพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ ถ้าแลเราปลีกตัวออกไปอยู่ในสถานที่วิเวก ซึ่งไม่มีภาระแล้ว ก็จะได้มีโอกาสเวลาในการค้นคว้ามากขึ้น ผลประโยชน์ในอนาคตก็จะบังเกิดขึ้นมาให้เป็นที่น่าพึงใจ”ครั้นท่านปรารภในใจอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงได้เรียกศิษย์ทั้งหลาย มีหลวงปู่สิงห์เป็นต้น มาประชุมกัน ท่านได้แนะนำให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างที่ได้เคยแนะนำสั่งสอนมาแล้วนั้น แล้วได้มอบหมายให้อำนาจกับหลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไปเมื่อเสร็จจากการประชุมแล้วในการครั้งนั้น ท่านก็กลับไปที่บ้านของท่านอีก เพื่อไปลามารดาของท่าน และได้มอบให้นางหวัน จำปาศีล ผู้น้องสาวเป็นผู้อุปัฏฐากรักษาทุกประการ จากนั้นออกพรรษาแล้วประมาณเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ท่านก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ จำพรรษาปี ๒๔๗๐ ที่วัดสระปทุม และออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑
พ.ศ. ๒๔๗๑
ในพ.ศ. ๒๔๗๑ หลังจากพระอาจารย์มั่นได้ธุดงค์ไปเชียงใหม่นั้น หลวงปู่สามก็ได้ติดตามหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่น กับพระภิกษุสามเณรรวมกันถึง ๘๐ รูป เดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ ได้เที่ยวเทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของ พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) เจ้าเมืองอุบลฯ ในสมัยนั้นแต่เดิมหลวงปู่สามและหลวงปู่สกุยได้บวชเป็นพระฝ่ายมหานิกาย เพราะในจังหวัดสุรินทร์สมัยนั้น ยังไม่มีพระฝ่ายธรรมยุตเลย ดังนั้นพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จึงให้ญัตติใหม่ที่อำเภอยโสธร ในครั้งนั้น หลวงปู่สามและหลวงปู่สกุย ได้ญัตติเป็นพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตพร้อมกันเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๑๖.๐๖ น. ณ วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม) อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีพระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (ทองพูน โสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้ฉายาว่า “อกิญจโน”
ท่านพระครูจิตตวิโสธนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ของท่านนั้นเป็นองค์เดียวกับพระอุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ชอบ ฐานสโม ที่อุปสมบทในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่วัดเดียวกันนี้ ก่อนหลวงปู่สาม ๔ ปี และเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ซึ่งอุปสมบทในปี ๒๔๘๕
หลังจากญัตติแล้วท่านก็ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์กับคณะไปเที่ยวธุดงค์แวะวนอยู่แถวนั้น จนจวนจะเข้าพรรษา ก็ได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นบ้านญาติท่านในปีนั้นทางราชการได้ประกาศไม่ให้ประชาชนนับถือภูตผีปีศาจ ให้พากันปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัย ทางจังหวัดจึงได้ระดมคณะสงฆ์ของจังหวัดให้ช่วยออกสั่งสอนประชาชนให้รู้จักหลักพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ให้เลิกถือผีฟ้า ผีไท้ ผีปู่ตา หันมารับพระไตรสรณคมณ์ ให้รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ รักษาศีล
เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์พาเดินธุดงค์ต่อ พร้อมกับแนะนำธรรมสั่งสอนญาติโยมแถวอำเภออำนาจเจริญ อำเภอม่วงสามสิบ เป็นต้น สนองนโยบายของทางราชการ
พ.ศ. ๒๔๗๒
พอจวนจะเข้าพรรษา ท่านพระครูพิศาลอรัญเขต (จันทร์ เขมิโย)* เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพิเศษสุตคุณ รองเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของพระอาจารย์สิงห์ด้วย ได้ส่งข่าวมาถึงพระอาจารย์สิงห์ว่าการเผยแผ่ธรรมะทางขอนแก่นไม่สู้ดีนัก มีการต่อต้านจากชาวบ้านที่ยังนับถือแบบเดิมอยู่ ขณะนั้นพระอาจารย์ฝั้นซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนมก็ได้มากราบนมัสการและได้ร่วมปรึกษาหารือกับหลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรลงไปช่วยพระครูพิเศษสุตคุณ เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ป่าช้าโคกเหล่างา นอกเมืองขอนแก่น
ชื่อและฉายาพ้องกับ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดนครพนมท่านพระอาจารย์สิงห์และคณะซึ่งมีพระอาจารย์สามรวมอยู่ด้วย ได้พากันออกเดินทางจากอำเภอยโสธรโดยทางรถยนต์ที่ชาวอำเภอยโสธรจ้างเหมาให้รวม ๒ คัน ไปพักแรมอยู่ จังหวัดร้อยเอ็ด ๑ คืน แล้วออกเดินทางไปพักอยู่ที่ จังหวัดมหาสารคามที่ดอนปู่ตา จากนั้นเดินทางต่อไปถึงบ้านโนนทัน อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ และได้ไปรวมกันอยู่ที่ป่าช้าโคกเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น และสร้างเสนาสนะชั่วคราวขึ้น ชาวบ้านเรียกว่า “วัดโคกเหล่างา” ปัจจุบันคือ “วัดป่าวิเวกธรรม”
ที่เมืองขอนแก่นนั้นพระอาจารย์สิงห์ก็ได้พบว่าเหตุการณ์ก็ไม่สู้ดี จริงตามที่พระครูพิเศษสุตคุณว่าไว้ จึงได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นในจังหวัดขอนแก่น เพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจ และให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์ท่านอาจารย์สิงห์ได้จำพรรษาที่วัดโคกเหล่างานี้ ส่วนท่านอาจารย์สามไปจำพรรษาอยู่สำนักบ้านโนนรัง ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พอออกพรรษาแล้วก็ออกมาพบกับพระอาจารย์สิงห์อีกได้เพียง ๕ - ๖ วัน ก็ลาไปหาที่วิเวกตามถ้ำตามป่า สถานที่สงัด เพื่อบำเพ็ญธรรม ประกอบความเพียรโดยไม่เลือกกาลเวลา เว้นไว้แต่พักผ่อนหรือมีคนมาถามธรรมปฏิบัติ ท่านก็แนะนำสั่งสอนเขาเหล่านั้นตามสติปัญญา นอกจากนั้นก็เร่งทำความเพียรพยายาม ด้วยตนของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้เสียประโยชน์ตนและในปีนี้ที่วัดโคกเหล่างานี้เอง หลวงปู่สามก็ได้พบและรู้จักหลวงปู่คำดี ปภาโส ที่ได้มาฝากตัวขอเป็นลูกศิษย์ กับพระอาจารย์สิงห์และพระอาจารย์มหาปิ่น
พ.ศ. ๒๔๗๓
ออกจากบ้านโนนรัง จังหวัดขอนแก่น ก็ไปจำพรรษาที่ป่าหนองบัว (บ้านหนองบัว อำเภอส่องดาว สกลนคร) พรรษาหนึ่ง
พ.ศ. ๒๔๗๔
ออกจากบ้านหนองบัวไปจำพรรษา ที่อำเภอพลพรรษาหนึ่ง ในปีนั้นหลวงปู่เทสก์ เทสรังสีก็ไปจำพรรษาอยู่ที่อำเภอพลตามคำสั่งของหลวงปู่สิงห์ด้วย
พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๗๖
ปีต่อมาหลวงปู่สามก็ย้อนมาจำพรรษาที่บ้านหนองบัวอีก ๒ พรรษา ตอนนี้จึงลาท่านอาจารย์สิงห์ไปเที่ยวธุดงค์ที่จังหวัดชัยภูมิพร้อมกับพระบุญธรรม เมื่อไปถึงชัยภูมิ พักอยู่ที่นั่น ๓ คืน ก็ไปเที่ยวสระหงษ์แล้วพักที่นั่นประมาณครึ่งเดือน ก็ชักชวนโยมชาวบ้านแถวนั้นขอร้องให้พาไปถ้ำวัวแดง โยมก็ส่งไป เพราะโยมเหล่านั้นก็มานั่งสมาธิภาวนาด้วยทุกวัน มีสามเณรองค์หนึ่งกับพระอีกสององค์ รวมกับท่านเลยไปถึงบ้านเขว้า พักอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง มีโยมชาวบ้านแถวนั้นสองคนไปด้วยถ้ำวัวแดงของจริงนั้น ตามคำเล่าขานกันมา เหมือนจะเป็นถ้ำในอีกมิติหนึ่งที่อยู่ซ้อนกับถ้ำประทุน และจะสามารถไปได้เมื่อถึงเวลาอันสมควร ป
ผู้เข้าชม
731 ครั้ง
ราคา
1500
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
เจนพระเครือง
ชื่อร้าน
บารมีบุญพระเครื่อง
ร้านค้า
baramebun.99wat.com
โทรศัพท์
0910162844
ไอดีไลน์
rit3009
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 008-8-93615-9
พระขุนแผนพรายแก้วสุกัญญาหลวงปู
เจ้าคุณรักษ์ อนาลโยวัดสุทธาวาส
ล-ป-สนม อติธมฺโมวัดพระปราค์เหล
เหรียญหัวกระโหลกพรายกระซิบ เนื
ท้าวเวสสุวรรณ มหาเศรษฐีมงคลโภค
ล-ป-ฟู วัดบางสมัคเหรียญนั้งพาน
เหรียญรุ่นมหาเวทย์ เนื้อทองแดง
เหรียญเสมา รุ่น ชินบัญชร เนื้อ
พระปิดตารวยทันใจหลวงปู่มี ฐิตส
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
หริด์ เก้าแสน
stp253
termboon
Netnapa
tumlawyer
มนต์เมืองจันท์
เปียโน
เอก พานิชพระเครื่อง
บ้านพระสมเด็จ
ชาวานิช
ไกร วรมัน
ชา วานิช
someman
hra7215
jocho
ว.ศิลป์สยาม
เจริญสุข
ภูมิ IR
Le29Amulet
เทพจิระ
โจ๊ก ป่าแดง
น้ำตาลแดง
hopperman
siracha
lord
tplas
ep8600
tintin
เพ็ญจันทร์
mon37
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1358 คน
เพิ่มข้อมูล
ล.ป.สาม อกิญจโนเหรียญจิตหนึ่ง รุ่นทูลเกล้าเนื้อทองแดงกลั่ยเงินลงยาสีแดง
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
ล.ป.สาม อกิญจโนเหรียญจิตหนึ่ง รุ่นทูลเกล้าเนื้อทองแดงกลั่ยเงินลงยาสีแดง
รายละเอียด
ชีวประวัติ
หลวงปู่สาม อกิญจโน
วัดป่าไตรวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
นามเดิม สาม เกษแก้วสี
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับ วันอาทิตย์ เดือนสิบ ปีชวด ที่บ้านนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
บิดาคือ นายปวม เกษแก้วสี
มารดาคือ นางกึง เกษแก้วสี
ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๑ คนเรื่องราวชีวิตในวัยเด็กของท่านนั้น ท่านเล่าว่า เมื่ออยู่ในวัยเด็กนั้น ได้รับความทุกข์ยากลำบากมาก เนื่องจาก พี่ชายคนโตได้ถึงแก่กรรม และในบ้านไม่มีผู้หญิง มีแต่ผู้ชาย และท่านเปรียบเสมือนเป็นลูกชายคนโต ดังนั้น นอกจากท่านจะต้องทำงานนอกบ้าน เช่นเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และทำไร่ไถนาแล้ว ยังต้องทำงานในบ้านอีกด้วย เช่น ตำข้าว หุงต้มอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ อีกหลายคน คือทำงานเหมือนผู้หญิงทุกอย่าง จนอายุย่างเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว ก็ยากที่จะมีโอกาสได้เที่ยวเตร่เหมือนผู้อื่นเขา ประกอบกับท่านมีอัธยาศัยชอบสงบตั้งแต่เด็ก ไม่เคยเกะกะระรานหาเรื่องกับใครเลย รู้จักการทำบุญ บริจาคทาน ฟังเทศน์ฟังธรรมตั้งแต่อายุได้ ๑๔ ปี จึงเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของบิดามารดา และผู้แก่ผู้เฒ่าเป็นอย่างยิ่ง
พ.ศ. ๒๔๖๒
ครั้นเมื่อถึงพ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านมีอายุได้ ๑๙ ปี จิตใจของท่านโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ มีความรู้สึกอยากบวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ จึงได้ขออนุญาตพ่อและแม่ พ่อแม่ของท่านอนุญาตไม่ทัดทานประการใด ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนาสาม ซึ่งเป็นวัดในสังกัดมหานิกาย อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน
พ.ศ. ๒๔๖๔
เมื่อบวชเณรได้ ๒ ปี อายุครบ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเอี่ยม เป็นพระกรรมวาจา และพระอาจารย์สามเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เข้าใจว่าท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดจุมพลสุทธาวาส และกลับมาพำนักที่วัดนาสาม น่าสังเกตว่า ท่านได้บวชกับพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกันกับพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งต่อมาเป็นพระอาจารย์องค์แรกของหลวงปู่สาม
พ.ศ. ๒๔๖๖
ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนาสามได้ ๓ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ก็คิดอยากจะไปเรียนปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ กับเขาบ้าง จึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ
ในช่วงที่ท่านเดินทางออกจากวัดนาสามเดินทางเข้ากรุงเทพนั้น ก็เป็นเวลาเดียวกับที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระภิกษุชาวสุรินทร์ ผู้ซึ่งได้จาริกไปยังวัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ขณะที่มีอายุพรรษาได้ ๖ ปี เพื่อศึกษาด้านพระปริยัติ จนสอบได้เป็นนักธรรมชั้นตรี นวกภูมินับเป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี ขณะเดียวกัน ก็ได้เรียนบาลีไวยากรณ์ที่เรียกว่า "มูลกัจจายน์" จนสามารถแปลพระธรรมบทได้
จากนั้น เมื่อได้รู้จักกับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และได้กราบนมัสการฝากตัวเป็นศิษย์กัมมัฏฐานของ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ดูลย์ก็แปรเปลี่ยนจากการศึกษาด้านพระปริยัติ หันเข้ามาทางด้านการปฏิบัติ จากนั้นมา หลวงปู่ดูลย์จึงได้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร รวมเป็นเวลา ๗ ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๖ หลวงปู่จึงได้กลับไปยังจังหวัดสุรินทร์ บ้านเกิดของท่าน เพื่อสงเคราะห์ญาติเมื่อหลวงปู่ดูลย์กลับมาถึงสุรินทร์ ท่านได้พักอยู่ที่วัดนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่สามพักอยู่ แต่เป็นจังหวะเดียวกันกับที่หลวงปู่สามได้เดินทางเข้ากรุงเทพ จึงพลาดโอกาสที่จะได้พบกัน
การกลับมาสุรินทร์ของหลวงปู่ดูลย์ในครั้งนั้น ได้สร้างความตื่นเต้นให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวบ้านแถบตำบลนาบัว และตำบลเฉนียง (ซึ่งเป็นตำบลบ้านเกิดของหลวงปู่ดูลย์) ได้พากันแตกตื่นพระธุดงค์เป็นการใหญ่ พากันไปฟังพระธรรมเทศนา และบำเพ็ญสมาธิภาวนากับหลวงปู่ดูลย์อย่างล้นหลาม จนกระทั่งวัดนาสามไม่มีที่จะนั่ง
พ.ศ. ๒๔๖๗
เมื่อจวนจะถึงวันเข้าพรรษา ท่านเห็นว่าวัดนาสามตั้งอยู่ในละแวกชุมชนมากเกินไป ไม่เหมาะที่จะวิเวกและปรารภธรรมตามแบบอย่างของพระธุดงค์ จึงได้ไปพำนักที่ป่าบ้านหนองเสม็ด ตำบลเฉนียง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดนาสามไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร และได้สมมติสถานที่นั้นขึ้นเป็นสำนักป่า อธิษฐานจำพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ ที่นั้นในการเดินทางเข้ากรุงเทพนั้น เจตนาเดิมหลวงปู่สามท่านตั้งใจจะขอพำนักอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ แต่ก็มีอุปสรรคโดยทางวัดบอกขัดข้องว่า ไม่มีกุฏิอยู่ให้จำพรรษา เมื่อเป็นดังนั้น ครั้นจะกลับมาวัดเดิมก็นึกอายเขา จึงหาวัดจำพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่จังหวัดอยุธยา ๑ พรรษา โดยไม่มีการเรียนปริยัติธรรมแต่ประการใด เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงกลับมาอยู่ที่วัดนาสามตามเดิม
ทางด้านหลวงปู่ดูลย์นั้น เมื่อจวนจะเข้าพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้ดำริที่จะเรียนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จึงเดินทางออกจากสำนักปฏิบัติธรรมป่าหนองเสม็ดไปยังกรุงเทพฯ และได้เข้าพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดสัมพันธวงศาวาส (วัดเกาะ) เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติมตามที่ประสงค์ แต่ศึกษาอยู่ได้ไม่นานนักท่านก็เลิก เพราะจิตใจของท่านเอนเอียงไปทางด้านธุดงค์กัมมัฏฐานมากกว่าเสียแล้ว จึงเพียงแต่อยู่ปฏิบัติธรรมและโปรดญาติโยมที่วัดสัมพันธวงศาวาสเท่านั้นและเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับ เมื่อเดินทางถึง จังหวัดลพบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับอาจารย์อ่ำ (พระเทพวรคุณ เจ้าอาวาสวัดมณีชลขันธ์ น้องชายท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จันทร์ สิริจันโท) เป็นเวลาประมาณ ๓ เดือนวันหนึ่ง พระมหาพลอย อุปสโม พระวัดสัมพันธวงศาวาส กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชาวสุรินทร์เช่นกัน ได้ติดตามมาหาท่านจนพบ และได้กราบอาราธนาให้ท่านกลับไป จังหวัดสุรินทร์ โดยให้เหตุผลว่า บรรดาญาติโยมอุบาสกอุบาสิกาทาง จังหวัดสุรินทร์ ผู้สนใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม และพอจะเห็นผลของการปฏิบัติบ้าง ต่างก็มีความปรารถนาที่จะพบและร่วมปฏิบัติธรรมกับท่าน เมื่อทราบความมุ่งหมายเช่นนั้น ท่านจึงเดินทางกลับ จังหวัดสุรินทร์ ตามคำอาราธนาของพระมหาพลอย และเข้าพำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์ป่าหนองเสม็ดตามเดิม ยังความปลาบปลื้มแก่บรรดาญาติโยมชาว จังหวัดสุรินทร์เป็นยิ่งนัก
พ.ศ. ๒๔๖๘
ขณะที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เดินทางกลับมายังจังหวัดสุรินทร์นั้น เป็นเวลาหลังจากที่หลวงปู่สามเดินทางกลับจากจำพรรษาที่วัดในจังหวัดอยุธยามายังวัดนาสามได้เพียง ๓ เดือน หลวงปู่สามเมื่อทราบว่าหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กลับมาจากเดินธุดงค์และได้มาพำนักอยู่ที่ป่าหนองเสม็ด ตำบลเฉนียง จังหวัดสุรินทร์ จึงเดินทางไปนมัสการและได้มอบตัวเป็นศิษย์เพื่ออบรมพระกรรมฐาน
ท่านอาจารย์ดูลย์สอบถามได้ความว่า หลวงปู่สามได้มีความมุ่งมั่นในการศึกษาทางพระศาสนา และเคยเดินทางไปแสวงหาที่เรียนด้านปริยัติที่กรุงเทพฯ แต่หาที่พำนักไม่ได้ จึงต้องกลับมาจำพรรษาที่สุรินทร์คืน ก็มีความยินดี และแนะนำสั่งสอนเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เมื่อหลวงปู่สามตั้งใจปฏิบัติตามที่ท่านอาจารย์ดูลย์แนะนำสั่งสอนก็ประสบผลสงบจนถึงเกิดนิมิตต่าง ๆ แล้วก็ยิ่งเกิดความเชื่อ ความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริง จึงอยู่จำพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ ที่ป่าหนองเสม็ดนั้น ๑ พรรษา ส่วนท่านอาจารย์ดูลย์ มาจำพรรษาที่วัดนาสาม
เมื่อออกพรรษา ปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว ท่านก็ได้เริ่มออกเที่ยวธุดงค์ในบริเวณใกล้ ๆ ในจังหวัดสุรินทร์ โดยไปทางเขา(พนม)สวาย พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานพอสมควร มีญาติโยมเลื่อมใสศรัทธามานั่งสมาธิภาวนา บางคนก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ท่านออกจากที่นั่นแล้ว ก็ไปตั้งสำนักปฏิบัติอยู่ใกล้บ้านถนน ตำบลเฉนียง อยู่ประมาณ ๒ เดือน
พ.ศ. ๒๔๖๙
ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงปู่ดูลย์ เห็นความพากเพียรของพระสาม อกิญฺจโนที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติ และได้บำเพ็ญเพียรจนได้รับผลจากการปฏิบัติพอสมควร และมีศรัทธามั่นคงดีแล้ว จึงแนะนำให้เดินทางไปกราบและศึกษาธรรมกับ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งขณะนั้นท่านและคณะศิษย์ได้ธุดงค์อยู่จังหวัดนครพนม โดยองค์ท่านได้พำนักอยู่ที่ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ใกล้กับวัดโพธิ์ชัย ตามคำอาราธนานิมนต์ของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ส่วนศิษย์อาวุโสองค์อื่นๆ แยกพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง เช่น หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องร่วมสายโลหิต และพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรงฺสี จำพรรษาที่ป่าบ้านอากาศ ตำบลอากาศ อ. วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย) จังหวัด สกลนคร
ในการเดินทางไปหาท่านพระอาจารย์มั่นของพระสาม ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๒๖ ปีนั้น มีท่านสกุย (บางแหล่งข้อมูล ว่าเป็น พระอาจารย์บุญธรรม) เป็นเพื่อนไปด้วย รวม ๒ องค์ เดินทางครั้งนี้ใช้เวลาถึง ๑๕ วัน จึงถึงจังหวัดนครพนม และพักอยู่ที่นั่น ๓ เดือน แล้วเดินทางต่อไปอีก ๕ วัน ก็ถึง เสนาสนะป่าบ้านสามผง ที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ นมัสการให้ท่านทราบว่า มาจากจังหวัดสุรินทร์ เพื่อปฏิบัติกัมมัฏฐาน แล้วพักอยู่ เพื่อรับการอบรมและฟังเทศน์จากท่านอาจารย์มั่น จนออกพรรษา และที่เสนาสนะป่าบ้านสามผงนี้เองที่ท่านได้พบและรู้จักกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งขณะนั้นอายุ ๒๓ ปี และ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ขณะนั้นอายุ ๒๕ ปี เป็นครั้งแรก
แผนที่แสดงเส้นทางการเดินทางจากวัดนาสาม จ.สุรินทร์ไปพบพระอาจารย์มั่นที่บ้านสามผง พบหลวงปู่สิงห์ที่บ้านอากาศ และ ติดตามคณะพระอาจารย์มั่นไปที่บ้านดอนแดงคอกช้าง
หลังจากนั้นท่านอาจารย์มั่นพิจารณาเห็นว่า ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นผู้คุ้นเคยกับพระที่มาจากจังหวัดสุรินทร์ เพราะท่านอาจารย์ดูลย์ก็สนิทสนมกันกับท่านอาจารย์สิงห์ จึงแนะนำท่านอาจารย์สามให้ไปหาท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านอาจารย์สามก็ได้ชักชวนเพื่อนสหธรรมิก คือ พระอาจารย์บุญธรรม เดินทางไปพบท่านอาจารย์สิงห์ ระยะทางจากบ้านสามผง ไปยังบ้านอากาศประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ท่านใช้เวลาเดินทาง ๑ วัน ๑ คืน จึงไปถึงอำเภออากาศอำนวย ท่านอาจารย์สิงห์ทราบว่ามาจากสำนักอาจารย์ดูลย์ จังหวัดสุรินทร์จึงต้อนรับและจัดให้พักอยู่ในที่นั้น
ครั้นพอจวนจะเข้าพรรษา ท่านอาจารย์สิงห์ก็จัดให้หลวงปู่สามไปอยู่แห่งหนึ่งต่างหาก ไม่ห่างจากกันเท่าไรนัก ท่านอาจารย์สามเล่าว่า ในปีนั้นท่านป่วยเป็นไข้ป่าหนัก จวนเจียนจะถึงตาย ร่างกายผอมเหลือหนังกับกระดูก แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้าในธรรมะของพระศาสดาเจ้า พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น เมื่อค่อยหายจากป่วยแล้วก็ต้องหัดเดินเป็นเดือน และต้องใช้ไม้เท้าช่วยยันตัวเดินจึงพอเดินไปมาได้บ้างในพรรษานั้น ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า “เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท้าเดินก็ต้องยอมตายกับความดีงามนะพวกเธอ”
ระหว่างที่การจำพรรษาอยู่ที่บ้านอากาศ ก็เกิดโรคฝีดาษระบาดขึ้นในหมู่บ้าน ชาวบ้านแตกตื่นหนีไปอยู่ตามป่าตามทุ่งนาเกือบหมด แม้พระตามวัดในหมู่บ้านก็ตามโยมไปด้วย แทบไม่มีใครใส่บาตรให้พระที่เหลืออยู่ฉัน ยังดีอยู่ที่หลวงปู่สิงห์ท่านรู้จักยาสมุนไพรอยู่บ้าง ท่านจึงบอกห้ามชาวบ้านไม่ให้นำผู้ป่วยไปไว้ในป่าแล้วปลูกกระต๊อบให้อยู่เพียงคนเดียว แล้วส่งอาหารให้กิน ตามที่เคยปฏิบัติมาเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น แล้วท่านหายามารักษากัน จึงมีคนตายเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ส่วนคณะพระกัมมัฏฐานนั้น ยังดีที่ชาวบ้านยังมีความนับถืออยู่ ถึงแม้ไม่มีคนนอนเฝ้าบ้านเลยสักคนเดียว แต่พอตอนตี ๔ ตี ๕ ยังอุตส่าห์มาหุงข้าวไว้สำหรับตักบาตร พอคณะหลวงปู่สิงห์ออกมาบิณฑบาต เขาก็ออกมาใส่บาตรแล้วก็รีบกลับเข้าป่าไป
หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว หลวงปู่สิงห์ได้พาคณะไปกราบนมัสการท่านอาจารย์มั่นที่บ้านสามผง ซึ่งท่านได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น แล้วพระอาจารย์มั่นก็ได้พาคณะเดินทางมาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป และ ได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล และได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้น ท่านพระอาจารย์ใหญ่ท่านปรารภว่าจะนำ แม่ชีจันทร์ มารดาท่านไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้ว เกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะปฏิบัติได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่น ต่างก็รับเป็นธุระในการเอาโยมแม่ท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ออกของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลัง ต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้
การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง เพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้น การเดินทางเป็นการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓ รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไป ก็จะพักที่เดิมที่คณะที่ ๑ พัก คณะที่ ๓-๔ เมื่อตามคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วย การสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม
ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถ ก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมาย
การเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน

แผนที่แสดงเส้นทางการเดินทางจากบ้านดอนแดงคอกช้างไปจังหวัดอุบลราชธานี
คณะธุดงค์ท่านอาจารย์มั่นฯ เมื่อได้เดินทางถึงหมู่บ้านหนองขอน อยู่ในเขตอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านหลวงปู่สิงห์ ซึ่งเมื่อชาวบ้านได้ฟังธรรมเทศนาของท่านแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษา เมื่อท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รับอาราธนา ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดเสนาสนะถวายจนพอเพียงแก่พระภิกษุที่ติดตามมากับท่าน
พ.ศ. ๒๔๗๐
ดังนั้นในพ.ศ. ๒๔๗๐ ในพรรษานี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา ส่วนหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่นจำพรรษาที่บ้านหัวตะพาน บริเวณใกล้เคียงกัน พระอาจารย์สามและพระอาจารย์สกุยซึ่งร่วมมาในคณะหลวงปู่สิงห์ก็จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่สิงห์
ต่อไปก็จะขอกล่าวเรื่องปัญหาที่พระกรรมฐานในสมัยนั้นได้ประสบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดทั้งความยุ่งยากต่อหมู่คณะพระกรรมฐาน และทั้งผลดีในแง่ที่ก่อให้เกิดการแพร่ขยายทั้งการสร้างวัดป่าขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ที่พระกรรมฐานได้ธุดงค์ไปพัก และทั้งทางด้านการปฏิบัติธรรมของประชาชนตามทางที่พระกรรมฐานได้ธุดงค์ไปโปรด
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) นั้น แม้ท่านจะเป็นพระผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล จัดการศึกษาแก่พระและแก่ประชาชนอย่างได้ผลดียิ่ง จัดการปกครองคณะสงฆ์ได้อย่างเรียบร้อยดีงาม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเต็มบ้านเต็มเมืองทีเดียว แต่ในระยะต้นนั้นท่านไม่ชอบพระธุดงค์เอาเลย ท่านว่าเป็นพระขี้เกียจ ไม่ศึกษาเล่าเรียน ถึงกับมีเรื่องต้องขับไล่ไสส่งมาแล้วหลายครั้งหลายหน ท่านไม่เห็นด้วยกับการเป็นพระธุดงค์กรรมฐาน ไม่เห็นด้วยกับการศึกษาธรรมด้วยการนั่งสมาธิภาวนา ท่านจึงขัดขวางหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น แทบทุกวิถีทางก็ว่าได้
จากการที่สมเด็จฯ ไม่เห็นด้วยในการออกธุดงค์ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็น “พระธุดงค์เร่ร่อน” นี้ สมเด็จฯ ท่านจึงพยายาม “จัดระเบียบพระ” ให้อยู่เป็นหลักแหล่ง มีสังกัดที่แน่นอน ปัญหานี้จึงเป็นเหตุให้บูรพาจารย์บางองค์ท่านหลบหลีกความรำคาญ ข้ามโขงไปอยู่ทางฝั่งลาวก็มี หรือธุดงค์เข้าป่าทึบ ดงดิบไปเลยก็มี
ระหว่างนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสเถระ อ้วน) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะธรรมยุติในภาคอีสาน ทราบข่าวว่าคณะพระกัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่น เดินทางมาพักอยู่ที่บ้านหัวตะพาน จึงสั่งให้เจ้าคณะแขวง อำเภอม่วงสามสิบ กับเจ้าคณะแขวงอำเภออำนาจเจริญ พร้อมด้วยนายอำเภออำนาจเจริญ ไปทำการขับไล่พระภิกษุคณะนี้ออกไปให้หมด ทั้งยังได้ประกาศด้วยว่า ถ้าผู้ใดใส่บาตรพระกัมมัฏฐานเหล่านี้จะจับใส่คุกให้หมดสิ้น แต่ชาวบ้านก็ไม่กลัว ยังคงใส่บาตรกันอยู่เป็นปกติ นายอำเภอทราบเรื่องจึงไปพบพระภิกษุคณะนี้อีกครั้งหนึ่ง แล้วแจ้งมาว่า ในนามของจังหวัด ทางจังหวัดสั่งให้มาขับไล่ พระอาจารย์สิงห์ซึ่งเป็นคนจังหวัดอุบลฯ ได้ตอบโต้ไปว่า ท่านเกิดที่นี่ท่านก็ควรจะอยู่ที่นี่ได้ นายอำเภอไม่ยอม พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ช่วยพูดขอร้องให้มีการผ่อนสั้นผ่อนยาวกันบ้าง แต่นายอำเภอก็ไม่ยอมท่าเดียว จากนั้นก็จดชื่อพระกัมมัฏฐานไว้ทุกองค์ รวมทั้งพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์เกิ่ง พระอาจารย์สีลา ฯลฯ จนหมด แม้กระทั่งนามโยมบิดามารดา สถานที่เกิด วัดที่บวช ทั้งหมดมีพระภิกษุสามเณรกว่า ๕๐ รูป และพวกลูกศิษย์ผ้าขาวอีกมากร่วมร้อยคน นายอำเภอต้องใช้เวลาจดตั้งแต่กลางวันจนถึงสองยามจึงเสร็จ ตั้งหน้าตั้งตาจดจนกระทั่งไม่ได้กินข้าวเที่ยง เสร็จแล้วก็กลับไป
เมื่อเกิดเรื่องดังกล่าว ท่านอาจารย์สิงห์และมหาปิ่นจึงแนะนำให้ท่านอาจารย์สามกลับสำนักเดิมที่สุรินทร์เสียก่อน ท่านจึงต้องกลับมาเข้าพรรษาหลังเดือน ๙ ที่บ้านถนน ตำบลเฉลียง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ไปหาท่านอาจารย์สิงห์ที่จังหวัดอุบลฯ อีก
พระอาจารย์มั่นฯ ปรารภเรื่องปลีกตัวออกจากหมู่เพื่อวิเวก
ครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้นำโยมแม่ออกท่านไปมอบให้น้องสาวท่านในเมืองอุบล ฯ
ท่านและคณะศิษย์บางส่วนพักที่วัดบูรพาราม ส่วนท่านพระอาจารย์สิงห์กับคณะสานุศิษย์ที่เหลืออีกประมาณ ๔๐ กว่าองค์ รวมทั้งท่านพระอาจารย์สามไปพักอยู่ที่สำนักสงฆ์ท่าวังหิน ซึ่งอยู่ห่างออกไป ทางทิศตะวันตก ๔ กิโลเมตรเศษ
ส่วนบรรดาศิษย์เก่า ๆ ทั้งหลาย ที่ออกธุดงค์อยู่ ณ ที่ต่างๆ เมื่อได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้ติดตามมากราบนมัสการ
และในเดือนอ้าย ข้างแรม ปีนั้น ก็ได้มีพระภิกษุหนุ่มจากอำเภอม่วงสามสิบเดินทางมากราบนมัสการขอเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านก็ยินดีรับและได้แนะนำและสอนคำภาวนาให้ว่า พุทโธฯ เพียงคำเดียวเท่านี้ พอดีท่านกำลังอาพาธ ท่านจึงได้แนะนำให้ไปพักอยู่สำนักสงฆ์ท่าวังหิน ซึ่งพระอาจารย์สิงห์พักอยู่ นั่นเป็นโอกาสให้พระอาจารย์สามได้พบผู้ที่ต่อมาได้เป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกับท่านเป็นอย่างยิ่ง ก็คือท่านพระอาจารย์ลี ธัมมธโร
ต่อมาในวันมาฆบูชา เดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมด ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมา
ในค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เข้าที่ทำสมาธิภาวนาก็ได้ปรารภขึ้นในใจว่า“จะออกจากหมู่คณะไปแสวงหาสถานที่วิเวก เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ ให้ได้รับความเข้าใจชัดเจน และแจ่มแจ้งเข้าไปอีก แล้วจะได้เอาปฏิปทาอันถูกต้องนั้นฝากไว้แก่เหล่าสานุศิษย์ในอนาคตต่อไป เพราะพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น ย่อมมีนัยอันสุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ได้ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทพระพุทธองค์และตามปฏิปทาที่พระอริยเจ้าได้ดำเนินมาก่อนแล้วนั้น เมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ย่อมจะเขวไปจากปฏิปทาที่ถูกต้องก็เป็นได้ หรืออาจดำเนินไปโดยผิดๆ ถูก ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลายก็จะเข้าไม่ถึงศีลถึงธรรม หรืออาจถึงกับป่วยการไม่เป็นประโยชน์แก่ตนของตน การปฏิบัติพระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนาก็จะมีแต่ความพอกพูนกิเลสให้เจริญงอกงามขึ้นในตนของตนเท่านั้น ซึ่งไม่สมกับว่าพระธรรมวินัยเป็นของชำระกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นไปจากสันดานแห่งเวไนยสัตว์ทั้งหลายอนึ่ง การอยู่กับหมู่คณะจะต้องมีภาระการปกครอง ตลอดถึงการแนะนำพร่ำสอนฝึกฝนทรมานต่าง ๆ ซึ่งทำให้โอกาสและเวลาที่จะค้นคว้าในพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ ถ้าแลเราปลีกตัวออกไปอยู่ในสถานที่วิเวก ซึ่งไม่มีภาระแล้ว ก็จะได้มีโอกาสเวลาในการค้นคว้ามากขึ้น ผลประโยชน์ในอนาคตก็จะบังเกิดขึ้นมาให้เป็นที่น่าพึงใจ”ครั้นท่านปรารภในใจอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงได้เรียกศิษย์ทั้งหลาย มีหลวงปู่สิงห์เป็นต้น มาประชุมกัน ท่านได้แนะนำให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างที่ได้เคยแนะนำสั่งสอนมาแล้วนั้น แล้วได้มอบหมายให้อำนาจกับหลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไปเมื่อเสร็จจากการประชุมแล้วในการครั้งนั้น ท่านก็กลับไปที่บ้านของท่านอีก เพื่อไปลามารดาของท่าน และได้มอบให้นางหวัน จำปาศีล ผู้น้องสาวเป็นผู้อุปัฏฐากรักษาทุกประการ จากนั้นออกพรรษาแล้วประมาณเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ท่านก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ จำพรรษาปี ๒๔๗๐ ที่วัดสระปทุม และออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑
พ.ศ. ๒๔๗๑
ในพ.ศ. ๒๔๗๑ หลังจากพระอาจารย์มั่นได้ธุดงค์ไปเชียงใหม่นั้น หลวงปู่สามก็ได้ติดตามหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่น กับพระภิกษุสามเณรรวมกันถึง ๘๐ รูป เดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ ได้เที่ยวเทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของ พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) เจ้าเมืองอุบลฯ ในสมัยนั้นแต่เดิมหลวงปู่สามและหลวงปู่สกุยได้บวชเป็นพระฝ่ายมหานิกาย เพราะในจังหวัดสุรินทร์สมัยนั้น ยังไม่มีพระฝ่ายธรรมยุตเลย ดังนั้นพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จึงให้ญัตติใหม่ที่อำเภอยโสธร ในครั้งนั้น หลวงปู่สามและหลวงปู่สกุย ได้ญัตติเป็นพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตพร้อมกันเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๑๖.๐๖ น. ณ วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม) อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีพระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (ทองพูน โสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้ฉายาว่า “อกิญจโน”
ท่านพระครูจิตตวิโสธนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ของท่านนั้นเป็นองค์เดียวกับพระอุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ชอบ ฐานสโม ที่อุปสมบทในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่วัดเดียวกันนี้ ก่อนหลวงปู่สาม ๔ ปี และเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ซึ่งอุปสมบทในปี ๒๔๘๕
หลังจากญัตติแล้วท่านก็ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์กับคณะไปเที่ยวธุดงค์แวะวนอยู่แถวนั้น จนจวนจะเข้าพรรษา ก็ได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นบ้านญาติท่านในปีนั้นทางราชการได้ประกาศไม่ให้ประชาชนนับถือภูตผีปีศาจ ให้พากันปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัย ทางจังหวัดจึงได้ระดมคณะสงฆ์ของจังหวัดให้ช่วยออกสั่งสอนประชาชนให้รู้จักหลักพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ให้เลิกถือผีฟ้า ผีไท้ ผีปู่ตา หันมารับพระไตรสรณคมณ์ ให้รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ รักษาศีล
เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์พาเดินธุดงค์ต่อ พร้อมกับแนะนำธรรมสั่งสอนญาติโยมแถวอำเภออำนาจเจริญ อำเภอม่วงสามสิบ เป็นต้น สนองนโยบายของทางราชการ
พ.ศ. ๒๔๗๒
พอจวนจะเข้าพรรษา ท่านพระครูพิศาลอรัญเขต (จันทร์ เขมิโย)* เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพิเศษสุตคุณ รองเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของพระอาจารย์สิงห์ด้วย ได้ส่งข่าวมาถึงพระอาจารย์สิงห์ว่าการเผยแผ่ธรรมะทางขอนแก่นไม่สู้ดีนัก มีการต่อต้านจากชาวบ้านที่ยังนับถือแบบเดิมอยู่ ขณะนั้นพระอาจารย์ฝั้นซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนมก็ได้มากราบนมัสการและได้ร่วมปรึกษาหารือกับหลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรลงไปช่วยพระครูพิเศษสุตคุณ เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ป่าช้าโคกเหล่างา นอกเมืองขอนแก่น
ชื่อและฉายาพ้องกับ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดนครพนมท่านพระอาจารย์สิงห์และคณะซึ่งมีพระอาจารย์สามรวมอยู่ด้วย ได้พากันออกเดินทางจากอำเภอยโสธรโดยทางรถยนต์ที่ชาวอำเภอยโสธรจ้างเหมาให้รวม ๒ คัน ไปพักแรมอยู่ จังหวัดร้อยเอ็ด ๑ คืน แล้วออกเดินทางไปพักอยู่ที่ จังหวัดมหาสารคามที่ดอนปู่ตา จากนั้นเดินทางต่อไปถึงบ้านโนนทัน อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ และได้ไปรวมกันอยู่ที่ป่าช้าโคกเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น และสร้างเสนาสนะชั่วคราวขึ้น ชาวบ้านเรียกว่า “วัดโคกเหล่างา” ปัจจุบันคือ “วัดป่าวิเวกธรรม”
ที่เมืองขอนแก่นนั้นพระอาจารย์สิงห์ก็ได้พบว่าเหตุการณ์ก็ไม่สู้ดี จริงตามที่พระครูพิเศษสุตคุณว่าไว้ จึงได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นในจังหวัดขอนแก่น เพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจ และให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์ท่านอาจารย์สิงห์ได้จำพรรษาที่วัดโคกเหล่างานี้ ส่วนท่านอาจารย์สามไปจำพรรษาอยู่สำนักบ้านโนนรัง ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พอออกพรรษาแล้วก็ออกมาพบกับพระอาจารย์สิงห์อีกได้เพียง ๕ - ๖ วัน ก็ลาไปหาที่วิเวกตามถ้ำตามป่า สถานที่สงัด เพื่อบำเพ็ญธรรม ประกอบความเพียรโดยไม่เลือกกาลเวลา เว้นไว้แต่พักผ่อนหรือมีคนมาถามธรรมปฏิบัติ ท่านก็แนะนำสั่งสอนเขาเหล่านั้นตามสติปัญญา นอกจากนั้นก็เร่งทำความเพียรพยายาม ด้วยตนของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้เสียประโยชน์ตนและในปีนี้ที่วัดโคกเหล่างานี้เอง หลวงปู่สามก็ได้พบและรู้จักหลวงปู่คำดี ปภาโส ที่ได้มาฝากตัวขอเป็นลูกศิษย์ กับพระอาจารย์สิงห์และพระอาจารย์มหาปิ่น
พ.ศ. ๒๔๗๓
ออกจากบ้านโนนรัง จังหวัดขอนแก่น ก็ไปจำพรรษาที่ป่าหนองบัว (บ้านหนองบัว อำเภอส่องดาว สกลนคร) พรรษาหนึ่ง
พ.ศ. ๒๔๗๔
ออกจากบ้านหนองบัวไปจำพรรษา ที่อำเภอพลพรรษาหนึ่ง ในปีนั้นหลวงปู่เทสก์ เทสรังสีก็ไปจำพรรษาอยู่ที่อำเภอพลตามคำสั่งของหลวงปู่สิงห์ด้วย
พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๗๖
ปีต่อมาหลวงปู่สามก็ย้อนมาจำพรรษาที่บ้านหนองบัวอีก ๒ พรรษา ตอนนี้จึงลาท่านอาจารย์สิงห์ไปเที่ยวธุดงค์ที่จังหวัดชัยภูมิพร้อมกับพระบุญธรรม เมื่อไปถึงชัยภูมิ พักอยู่ที่นั่น ๓ คืน ก็ไปเที่ยวสระหงษ์แล้วพักที่นั่นประมาณครึ่งเดือน ก็ชักชวนโยมชาวบ้านแถวนั้นขอร้องให้พาไปถ้ำวัวแดง โยมก็ส่งไป เพราะโยมเหล่านั้นก็มานั่งสมาธิภาวนาด้วยทุกวัน มีสามเณรองค์หนึ่งกับพระอีกสององค์ รวมกับท่านเลยไปถึงบ้านเขว้า พักอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง มีโยมชาวบ้านแถวนั้นสองคนไปด้วยถ้ำวัวแดงของจริงนั้น ตามคำเล่าขานกันมา เหมือนจะเป็นถ้ำในอีกมิติหนึ่งที่อยู่ซ้อนกับถ้ำประทุน และจะสามารถไปได้เมื่อถึงเวลาอันสมควร ป
ราคาปัจจุบัน
1500
จำนวนผู้เข้าชม
741 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
เจนพระเครือง
ชื่อร้าน
บารมีบุญพระเครื่อง
URL
http://www.baramebun.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0910162844
ID LINE
rit3009
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 008-8-93615-9
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี